วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
หน้ากาก
วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553
จากที่ทำงาน
ปฏิทิน design
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=naomichankuro-bara&group=2&page=14
สิ่งของมี design
http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=676877
http://www.mythland.org/v3/viewthread.php?tid=2479
กระดาษ ดีไซน์
http://origami.oschene.com/page/2/
สถาปัตย
http://www.archicentral.com/
design update
http://www.welcometohr.com/category/ideas/
นามบัตร
http://www.anvari.org/cols/Creative_Business_Card_Design_Ideas.html
ปฎิทินต่างๆ
http://www.tarad.com/รูปภาพ/product_4366.4425
http://www.google.co.th/images?q=ปฎิทินไทย&um=1&hl=en&tbs=isch:1&ei=XpRaTK_3KIbCrAf_0pG-DA&sa=N&start=540&ndsp=20
ลายไทยความหมาย
http://www.oknation.net/blog/wallpaper/2008/10/03/entry-1
สอนวาด
http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Art%20&%20Design/ART-DESIGN%20UTF-8%20UNIT-05.php
http://www.skr.ac.th/Project_1_502/Tong502/Webpage/Webpage2/%C5%D2%C2%AA%E8%CD%A1%B9%A1/444.htm
ซื้อCD
http://thisthai.com/EP03.htm
ของart น่ารัก
http://www.etsy.com/listing/28553297/antique-frame-garland-in-red
Sustainable Design
http://sustainabledesignupdate.com/?m=200705
http://abduzeedo.com/daily-inspiration-190
http://abduzeedo.com/
ลสยไทย ลวดลายไทย ลายไทย
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ในหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ถึงปัจจุบัน ทรงดำรงสถานะเป็นพระประมุขแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งอยู่เหนือการเมืองทั้งปวงและเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งชาติ ทั้งนี้ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วยเช่นกัน[2]
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระภัทรมหาราช ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง"
ต่อมาได้มีการถวายพระราชสมัญญานามใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" เมื่อ พ.ศ. 2539 [3] และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่
ด้านการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมตลอดเวลา พระองค์ทุ่มเทพระวรกายอุทิศแรงกายให้กับประชาชนทุกยามไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ ใดๆ ก็ตาม พระองค์ก็ไม่เคยท้อแท้ พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ประชาชนของพระองค์อยู่ดีมีสุขภายใต้พระปฐมบรมราชโองการก่อนเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" พระองค์ปกครองโดยผ่านทางรัฐบาล รัฐสภา และศาล[ต้องการอ้างอิง] ที่เราเรียกว่า "อำนาจอธิปไตย" ที่พระองค์ต้องมีพระราชวินิจฉัยก่อนลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่างๆ ทุกครั้ง ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาและพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา[19]
บางครั้งเหตุการณ์ทางการเมืองถึงขั้นวิกฤติ อย่างในเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแนวทางแก้ไขความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ในชาติ[20]
ด้านศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะ และองค์พระอัครศาสนูปถัมภก และให้ความเสมอภาคในการนับถือศาสนาของประชาชน โดยไม่ปิดกั้นเชื้อชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทุกๆ วันสำคัญพระองค์จะเสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น และเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามหลวงต่างๆ มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายทบวง เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และวัดญาณสังวราราม โดยที่พระองค์ทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปสร้าง[21]
ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี
ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่างๆ หลายแขนง จนได้รับการยกย่องให้พระองค์เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ งานทางด้านทัศนศิลป์และประติมากรรม พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในการฝึกเขียนภาพ และมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ทรงถ่ายรูปภาพได้หลายรูปแบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทรงปั้นพระพุทธรูปต่างๆ ได้อย่างงดงาม เช่น พระสมเด็จจิตรลดา พระพุทธนวราชบพิตร เป็นต้น
งานทางด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลากหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น บทความและพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ทรงเลือกถ้อยคำที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย อีกทั้งได้อรรถรสในการอ่านอีกด้วย[22]
ด้านการพัฒนาชนบท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆ ด้าน ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาสังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใดๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่
ด้านการเกษตรและชลประทาน
ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น
ด้านการแพทย์
โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากดรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้ได้ทันที
นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด้กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย[23][24]
ด้านการศึกษา
นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อสนับสนุนทางด้านคัดเลือกบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้บัณฑิตเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาวิิจัยนำผลงานที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยพระองค์ออกทุนให้ตลอดจนดูแลเกี่ยวกับความเป้นอยู่ในต่างประเทศนั้นๆ อีกด้วย[25]
ส่วนในประเทศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเป็นผู้ดพเนินการจัดการบริหารทางการศึกษา แบบให้เปล่าตั้งแต่ระดับชั้นประถมศกษา จนถึงระดับมัธบมศึกษาตอนปลาย ในลักษณะทั้งอยู่ประจำและไปกลับ แบ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 26 โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 14 โรงเรียน[25]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย โดยสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้:
- มูลนิธิชัยพัฒนา
- มูลนิธิโครงการหลวง
- โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
- โครงการหลวงอ่างขาง
- โครงการปลูกป่าถาวร
- โครงการแก้มลิง
- โครงการฝนหลวง
- โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
- โครงการแกล้งดิน
- กังหันชัยพัฒนา
- แนวพระราชดำริ ผลิตแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ (พ.ศ. 2528)
- แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
- เพลงพระราชนิพนธ์
- พระสมเด็จจิตรลดา
- เป็นต้น
พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
"การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น"
ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยพระราชทานแก่ คณะผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ว่า
"หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้"
โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
เกษตรทฤษฎีใหม่
เศรษฐกิจพอเพียง
พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ
พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้
- โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
- โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
- โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
- หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
- โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
- โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
- โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
- หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
"จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย"
นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสที่ว่า
"การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด"
พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้
- โรงเรียนจิตรลดา
- โรงเรียนราชวินิต
- โรงเรียนวังไกลกังวล
- โรงเรียนราชประชาสมาสัย
- โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนเพื่อลูกหลานชนบท
- โรงเรียนร่มเกล้า
- โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน
- โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน
ทุนการศึกษาพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา หากแต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ทุนเล่าเรียนหลวง
ทุนมูลนิธิภูมิพล
ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย
ทุนนวฤกษ์
ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
"หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการหรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครูและที่เล่าเรียนเช่นขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี"
ปัจจุบันโครงการฯ ได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน ๗ สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขณะนี้มีออกมาแล้ว ๒๘ เล่ม โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชทานแทนพระองค์(เฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน)
พระราชกรณียกิจด้านศาสนา
พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา ไม่ใช่เฉพาะแต่ศาสนาที่พระองค์ทรงนับถือ เนื่องจากทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดี
พระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงภายในประเทศ
พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้...
พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม
- ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
- ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา
เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13
นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว ยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบตมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น
http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- 1 โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า
- 2 โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน
- 3 โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ
- 4 โครงการทางด้านวิศวกรรม
- 5 แนวพระราชดำริอื่นๆ
- 6 ดูเพิ่ม
- 7 อ้างอิง
โครงการพระราชดำริฝนหลวง
ที่มาโครงการพระราชดำริฝนหลวง
"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
http://202.28.94.55/webcontest49/web/g46/project/royal_rain.htm
จะหาแผ่นดินไหนที่ในโลก ที่พระประมุขของชาติ ทรงงานหนักยิ่งกว่าข้าแผ่นดิน สมกับคำว่า “ กษัตริย์ผู้ทรงงาน ” โดยแท้
จะหาแผ่นดินไหนที่ในโลก ที่ราชกับราษฎร์สามารถอยู่ใกล้ชิดกันได้ เล่าสุขเล่าทุกข์ยากถวายได้ อย่างไม่มีอะไรมากั้นกีดขวางเช่นนี้
จะหาแผ่นดินไหนที่ในโลก ที่มีศูนย์รวม หล่อหลอมหัวใจให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยความจงรักภักดี
และจะหาแผ่นดินไหนที่ในโลก ที่จะได้เห็นดวงประทีปเปลวเทียนวับแวมวาววามทั่วทั้งแผ่นดิน พร้อมเสียงสาธุการถวายชัย “ ทรงพระเจริญ ” อย่างพร้อมเพรียง
ด้วยดวงตาที่อิ่มเอิบ ปริ่มเปรมไปด้วยน้ำตาแห่งปีติ
ด้วยดวงใจที่จงรักภักดี พร้อมถวายได้แม้ชีวิตเป็นราชพลี
แผ่นดินนี้แผ่นดินเดียว
แผ่นดินเดียว
แผ่นดินเดียวจริงๆ
http://siweb.dss.go.th/sci60/team100/atrib/article2.htm
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
๑. พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
๒. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง
๓. พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม
http://www.oknation.net/blog/thekingICT/2008/12/03/entry-1
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
กฏทองของงานออกแบบกราฟิก
http://zoonkeang.multiply.com/journal/item/3/3